ทันตกรรมฟอกสีฟัน
Tooth Whitening
สีฟันของแต่ละคนมีความเข้มที่แตกต่างกันบางคนฟันเหลือง บางคนฟันขาว บางคนฟันสีหมองคล้ำ
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาฟันสีคล้ำคือ
– การทานยาบางชนิดตั้งแต่เด็ก อายุ 3-12 ปี เช่น เตตราซัยคริน มีผลทำให้ฟันแท้มีสีหมองคล้ำ เหลือง หรือเทาดำ หรือบางรายอาจเกิดจากได้รับฟลูออไรด์มากเกินไปในช่วงการ สร้างฟันแท้ ส่งผลให้ฟันมีสีที่ไม่เสมอกัน หรือฟันตกกระ
– การรับประทานอาหารประเภทเครื่องดื่มที่มีสีเข้มเป็นประจำ เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมถึงการสูบบุหรี่ทำให้เกิดคราบสะสมบนตัวฟัน หากแปรงฟันไม่สะอาด คราบจากการทานอาหารก็จะติดได้ง่าย
ทำให้เกิดคราบฟัน เมื่อสะสมมากขึ้นทำให้เห็นคราบสีเหลือง หรือสีน้ำตาล
– เกิดจากฟันตาย คือฟันที่ผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟันหรือโดนกระแทกแรงๆจากอุบัติเหตุ ทำให้เส้นประสาทและเส้นเลือดที่อยู่ภายในไม่สามารถนำสารอาหารไปหล่อเลี้ยงฟันได้ เราเรียกว่า”ฟันตาย” มักจะพบเป็นฟันสี่คล้ำ หรือสีอมเทา
– ฟันที่เปลี่ยนสีจากโรคทางพันธุกรรม จากสภาวะการเจริญบกพร่องของการสร้างฟัน
***ฟันที่เปลี่ยนสีจากโรคทางพันธุกรรมจากสภาวะการเจริญบกพร่องของการสร้างฟัน
ซึ่งมีความผิดปกติที่โครงสร้างฟันร่วมด้วยอาจจำเป็นต้องใช้วิธีอื่นร่วมด้วย เช่น การอุดฟัน
การทำวีเนียร์หรือการครอบฟัน เป็นต้น***
ฟอกสีฟันเขาทำกันอย่างไร?
ก่อนฟอกสีฟัน ผู้ป่วยควรรับรู้ข้อมูลและการรักษาผลของการรักษา ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
ตลอดจนผลดีผลเสียของการรักษานั้น ๆ
หลังจากแพทย์ทำการตรวจประเมินสภาพช่องปาก รอย ผุสภาพวัสดุอุด สุขภาพของอวัยวะปริทันต์ รอยสึก รอยฟันร้าวอาการเสียวฟัน สาเหตุของฟันเปลี่ยนสีสอบถามความคาดหวังของคนไข้ ประวัติการแพ้สารฟอกสีฟัน
การฟอกสีฟันมี 2 เทคนิค
- การฟอกสีฟันในคลินิก
ทันตแพทย์จะเทียบสีฟันเดิมของคนไข้ก่อนฟอกสีฟันทำการขัดฟัน และทำความสะอาดฟัน
ขจัดคราบพลัคที่เกาะบนผิวฟันทำการป้องกันเหงือกโดยใช้สารเรซินปกคลุมรอบเหงือกและป้องกันอวัยวะอื่น ๆ
ในช่องปากไม่ให้สัมผัสกับน้ำยาฟอกสีฟันทาน้ำยาฟอกสีฟันลงบนตัวฟันทิ้งให้น้ำยาสัมผัสกับผิวฟันเป็นเวลา 30 นาที – 2 ชั่วโมงขึ้นกับบริษัทผู้ผลิตแนะนำ (อาจมีการกระตุ้นปฏิกิริยาของน้ำยาฟอกสีฟันด้วยแสงหรือเลเซอร์ ) เมื่อครบเวลาก็ทำการกำจัดน้ำยาฟอกสีฟันและถอดสารเรซินที่ปกคลุมรอบเหงือกเปรียบเทียบสีก่อนและหลังการฟอกสีฟันในกรณีที่ผู้ป่วยมีฟันสีเข้มมาก อาจทำซ้ำได้หรือใช้เทคนิคฟอกสีฟันที่บ้านร่วมด้วย
- การฟอกสีฟันที่บ้าน
การฟอกสีฟันที่บ้านมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมามากมาย เช่น การใช้น้ำยาฟอกสีฟันชนิดเจลร่วมกับการใช้ถาดฟอกสีฟันหลักจากผู้ป่วยได้รับการตรวจและทราบรายละเอียดของการรักษาแล้วทันตแพทย์จะทำการบันทึกสีฟันเดิมของผู้ป่วย ทำการพิมพ์ปากเพื่อทำถาดฟอกสีฟันและผู้ป่วยจะได้รับการนัดหมายเพื่อกลับมารับถาดฟอกสีฟันและน้ำยาฟอกสีฟันทันตแพทย์จะทำการลองถาดฟอกสีฟันในปากของคนไข้เพื่อตรวจสอบรอยกดเกินบนเหงือก ความแนบสนิทของถาดฟอกสีฟันและอธิบายวิธีการใช้ถาดฟอกสีฟัน
ฟอกสีฟันขาวได้นานแค่ไหน?
โดยทั่วไปการฟอกสีฟันในคลินิกจะมีการกลับคืนของสีได้เร็วกว่าการฟอกที่บ้านภายหลังการฟอกสีฟันจะเข้มขึ้นจากปัจจัยภายนอก เช่น อาหารเครื่องดื่มที่รับประทาน ซึ่งระยะเวลาของความขาว
ขึ้นอยู่กับการบริโภคและการดูแลรักษาความสะอาดช่องปากของคนไข้ ซึ่งโดยทั่วไปจะขาวอยู่ได้ประมาณ1-3 ปีที่สำคัญหลังการฟอกสีฟันควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่ทำให้ติดสี เช่น ชา กาแฟ ไวน์แดง แกงกะหรี่ ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกถ้ามีอาการเสียวฟันมากควรหยุดการฟอกจนกว่าจะหาย ก่อนจะเริ่มการฟอกใหม่
การฟอกสีฟัน มีผลเสียอย่างอื่นไหม
ในเมื่อการฟอกสีฟัน ไม่มีผลเสียต่อเคลือบฟันของเรา ก็ไม่น่าจะมีอันตรายใด ๆ หากเราจะฟอกสีฟันบ่อย ๆ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เฉพาะตัวเคลือบฟันเท่านั้นที่เราต้องคำนึงถึง เนื่องจากในปากของเราไม่ได้มีแค่ฟันเท่านั้น ยังมีเหงือกและเนื้อเยื่อบุช่องปาก ซึ่งไม่ได้เป็นสารอนินทรีย์เหมือนกับฟัน แต่เป็นสารอินทรีย์ และอยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดเสี่ยงที่จะมีโอกาสสัมผัสกับสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ที่ทันตแพทย์ใช้ฟอกสีฟัน ถ้าระหว่างที่ทำการฟอกสีฟัน สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ไปสัมผัสกับเหงือกหรือเนื้อเยื่อบุช่องปากมักจะเกิดอาการระคายเคือง และอาจส่งผลต่อเนื่องไปจนถึงมีอาการอักเสบต่อไป ดังนันการฟอกสีฟันจึงควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ฟอกสีฟันทำได้บ่อยแค่ไหน
แต่ละคนมีธรรมชาติของสีฟัน เนื้อฟัน ความอ่อนไหวต่อน้ำยาฟอกสีฟันแตกต่างกัน
และยังมีความต่างของระดับความเข้มข้นน้ำยาฟอกสีฟันที่ใช้ในคลินิกและใช้เองที่บ้าน ทำให้ความเสี่ยงจากการฟอกสีฟันบ่อยก็จะแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นจึงควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนการฟอกสีฟัน
ทันตกรรม วีเนียร์ (Dental Veneer)
ทำจาก composite หรือ ceramic ลักษณะมีขนาดบางและเล็ก ถูกออกแบบมาให้มีหน้าตาและลักษณะคล้ายกับเคลือบฟันธรรมชาติที่มีสีและรูปร่างใกล้เคียงกับฟัน โดยจะติดบริเวณด้านหน้าของฟัน แนบสนิทกับผิวหน้าฟันได้อย่างพอดี
วัสดุที่นำมาทำวีเนียร์มีอยู่ 2 ประเภท ดังนี้
- เรซิน คอมโพสิต (Resin composite) เป็นวัสดุแบบเดียวกับที่ใช้ในการอุดฟัน มีอายุการใช้งานที่น้อยกว่าแบบพอร์ซเลน และมีความใสของสีที่น้อยกว่า เหมาะกับคนที่มีปัญหา มีฟันห่าง ฟันเล็ก ฟันบิ่น ฟันเกเล็กน้อย ฟันที่มีสีไม่เสมอกัน และมีงบประมาณจำกัด
- พอร์ซเลน (Porcelain) เป็นวัสดุเซรามิก มีคุณสมบัติที่มีความทนทานสูง และเนื้อมีความสวยงาม วาวเป็นธรรมชาติ เหมาะกับผู้ที่ต้องการผู้ความมั่นใจ เพราะวีเนียร์พอร์ซเลนจะเหมือนฟันจริงมากที่สุด และมีอายุการใช้งานนาน จึงทำให้วัสดุพอร์ซเลนมีราคาสูงกว่าวัสดุคอมโพสิต
ปัจจุบันวีเนียร์แบบพอร์ซเลนได้รับความนิยมมากกว่าแบบคอมโพสิตครับ เนื่องจากวัสดุเซรามิกไม่ดูดซับสีอาหารทำให้เกิดคราบต่าง ๆ ได้
วีเนียร์ นิยมใช้ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาฟันเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เกิดความสวยงาม เช่น ปัญหาเรื่องสีฟัน ฟันห่าง ฟันแตกฟันกระต่าย ฟันไม่เท่ากัน
- ฟันดูสวยขึ้น ขาวขึ้น
- เสียเนื้อฟันน้อย เพราะเป็นการตกแต่งแค่ผิวหน้าบางส่วนเท่านั้น ไม่ต้องกรอฟันเหมือนการครอบฟัน
- มีความทนทาน อยากต่อการติดคราบสีที่เกิดจากเครื่องดื่ม อาหาร บุหรี่
- สามารถปกปิดสีฟันที่ผิดปกติหรือไม่สวยได้
วีเนียร์ เหมาะกับใคร?
วีเนียร์เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟัน ดังนี้
- ผู้ที่มีปัญหาฟันมีสีดำ คล้ำ ฟันเหลือง สีฟันไม่ขาวใสเป็นธรรมชาติ ทำให้เกิดปัญหา ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าส่งยิ้มให้ใคร
- ผู้ที่มีปัญหาฟันสบกัน หรือฟันไม่เท่ากัน ทำให้มีปัญหาในการเคี้ยว อาหาร และการพูด
- ผู้ที่มีปัญหา ฟันเล็ก ฟันบิ่น ฟันกระต่าย ฟันไม่สวยงาม ทำให้ขาดความมั่นใจ
- ผู้ที่มีปัญหาฟันห่าง ทำให้ขาดความมั่นใจ และมีปัญหาในการเคี้ยวอาหาร ทำให้เศษอาหารติดตามร่องฟัน ส่งผลให้มีปัญหาฟันผุ และปัญหากลิ่นปากตามมา
ข้อดีของการทำวีเนียร์
- แก้ไขรูปร่างของฟัน เช่น ฟันที่เตี้ย ฟันที่ขนาดเล็กกว่าปกติ ฟันที่มีรอยแตก รอยบิ่น เป็นต้น
- สามารถปกปิดการเรียงตัวของฟันที่ไม่เป็นระเบียบได้ เช่น ฟันซ้อนเกเล็กน้อย ฟันห่าง
- สามารถแก้ไขสีฟัน ช่วยปกปิดสีฟันที่ไม่สวยให้ชวนมองได้ เช่น ฟันสีเหลืองที่ไม่สามารถฟอกสีฟันให้ขาวได้ตามความต้องการ ฟันตกกระ
- สามารถเลือกสีฟันได้ตามที่คนไข้ต้องการ
- สามารถปรับปรุงสภาพฟันที่มีปัญหาให้กลับมาดีขึ้นและใช้งานได้ตามปกติอีกครั้ง เพิ่มรอยยิ้มที่สวยงามสร้างความมั่นใจให้กลับคืนมา
ข้อควรรู้ของการทำวีเนียร์ฟัน
ในขั้นตอนการรักษาวีเนียร์ แนะนำให้ขูดหินปูน อุดฟันผุ รักษาโรคเหงือกอักเสบ หรือรักษารากฟันในช่องปากให้เรียบร้อยตามสภาพฟัน และจะต้องกรอแต่งเนื้อฟันพอประมาณเพื่อให้วีเนียร์ยึดติดได้ ระหว่างการติดวีเนียร์ อาจจะมีอาการเสียวฟันได้เล็กน้อยในตำแหน่งที่กรอแต่งถึงชั้นเนื้อฟัน) ซึ่งโดยปกติจะหายใน 1-2 อาทิตย์
ข้อแตกต่างสำหรับวีเนียร์ เรซิน คอมโพสิต (RESIN COMPOSITE)
และ วีเนียร์พอร์ซเลน (PORCELAIN)
วีเนียร์ เรซิน คอมโพสิต (Resin composite) | วีเนียร์พอร์ซเลน (Porcelain) |
เรซิน คอมโพสิต (Resin composite) เป็นวัสดุแบบเดียวกับที่ใช้ในการอุดฟัน มีอายุการใช้งานที่น้อยกว่าแบบพอร์ซเลน และมีความใสของสีที่น้อยกว่า และมีการติดสีได้ง่ายกว่า | พอร์ซเลน (Porcelain) เป็นวัสดุเซรามิก มีคุณสมบัติที่มีความทนทานสูง และเนื้อมีความสวยงาม วาวเป็นธรรมชาติ เหมาะกับผู้ที่ต้องการความมั่นใจ เหมือนฟันจริงมากที่สุด |
ทันตกรรมการอุดปิดช่องว่าง
การอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน คืออะไร ?
การอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน (Space closing) คือการใช้วัสดุอุดฟัน ประเภท เรซิน คอมโพสิต (Resin composite) อุดปิดฟันห่างเพื่อตกแต่งฟันให้ชิดกัน โดยนิยมทำในฟันหน้าเพื่อความสวยงาม
กรณีใด ที่จำเป็นต้องอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน ?
ฟันหน้าหรือฟันหลังที่ห่าง
ขนาดช่องว่าง ไม่ควรเกิน 2-3 มิลลิเมตร เนื่องจากถ้าช่องห่างมากอาจจะทำให้ฟันดูซี่ใหญ่ไม่สวยงาม อาจต้องทำการแก้ไขด้วยการจัดฟัน