Dentalland-HatYai

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ฟันน้ำนมมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าฟันแท้ทั้งเรื่องความสวยงาม การบดเคี้ยว ออกเสียงพูดและที่สำคัญช่วยในการกระตุ้นการเจริญเติมโตของขากรรไกร และเป็นแนวให้ฟันแท้ขึ้นได้สวยงามอีกด้วย 

1.รู้ได้อย่างไร ว่าลูกมีฟันผุ

1) ฟันผุระยะแรกจะพบลักษณะสีขาวขุ่นบนผิวเคลือบฟัน

2) เมื่อปล่อยไว้รอยผุจะลุกลามใหญ่ขึ้น

3) รอยผุบนด้านบดเคี้ยวจะเห็นชัดก็ต่อเมื่อเกิดเป็นรูขึ้นแล้ว

4) การผุที่ด้านประชิดของฟันซึ่งยังมองไม่เห็นรูผุ จะตรวจได้จากภาพถ่ายรังสี

5) การสูญเสียเนื้อฟันไปมาก ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวจะลดลง

6) หากผุลึกถึงโพรงประสาทฟัน จะเกิดการอักเสบ ทำให้ปวดฟันหรือมีหนองที่ปลายรากฟัน

7) บางครั้งเด็กอาจไม่ปวดถ้ามีการทำลายกระดูกรอรากฟันไปมากก็จะไม่สามารถรักษาฟันไว้ได้

8) การอักเสบจากฟันอาจกระจายปามบริเวณต่าง ๆ ของใบหน้าและใต้คางซึ่งเป็นอันตรายเพราะเด็กอาจหายใจลำบาก

1.การป้องกันฟันผุโดยใช้ฟูลออไรด์ในเด็ก

1) ฟูลออไรด์เสริมชนิดเม็ดและน้ำ

2) ฟูลออไรด์เฉพาะที่ โดยทันตแพทย์ ได้แก่ ทาฟลูออไรด์วาร์นิช การเคลือบเจลฟลูออไรด์

3) การใช้ฟูลออไรด์ด้วยตนเอง ได้แก่ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ เมื่อเด็กอายุมากกว่า 6 ปี

1.การป้องกันและการรักษาฟันเด็ก

1) การเคลือบหลุมร่องฟัน คือ การใช้วัสดุปิดทับบนหลุ่มร่องฟันที่ลึก ซึ่งเสี่ยงต่อการผุสูง

2) การบูรณะฟัน สามารถทำได้หลายแบบ ได้แก่ การอุดฟันด้วยวัสดุอุดสีเหมือนฟัน การอุดด้วยอะมัลกัม การทำครอบฟันโลหะไร้สนิม

1.การรักษาประสาทฟันน้ำนม

1) การตัดเนื้อเยื่อในประสาทฟัน (Pulpotomy)

2) การตัดเนื้อเยื่อในประสาทฟันออกหมด (Pulpectomy)

3) หลักการรักษาประสาทฟันควรบูรณะฟันด้วยครอบฟันโลหะไร้สนิม และติดตามการรักษาทุก 6 เดือน ถึง 1 ปี

1.การรักษาช่องว่างเมื่อเสียฟันก่อนกำหนด

1) ถ้าฟันแท้ในตำแหน่งนั้นยังไม่ขึ้นภายใน 6 เดือน ควรใส่เครื่องมือกันช่องว่างรูปแบบต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

2) เมื่อใส่เครื่องมือกันช่องว่างแล้ว ควรดูแลอนามัยช่องปากให้ดี และกลับมาตรวจสภาพเครื่องมือประจำทุก 6 เดือน

1.การทำความสะอาดช่องปากเด็ก

1) เมื่อยังไม่มีฟันขึ้น ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกบีบหมาดเช็ดทำความสะอาดสันเหงือกวันละ 2 ครั้ง เช้า-ก่อนนอน

2) เมื่อเริ่มมีฟันขึ้น ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ในปริมาณเล็กน้อย โดยผู้ปกครองแปรงให้ในท่าที่เด็กนั่งหรือนอน

– เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี : เปียกปลายแปรงเป็นจุด

– เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี : ยาสีฟันขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว

1.การแปรงฟันในเด็ก

1) วางแปรงสีฟันตั้งฉากกับผิวฟันที่จะแปรง ทั้งด้านริมฝีปากข้างแก้ม ด้านบดเคี้ยว ด้านเพดานและข้างลิ้น โดยขยับแปรงไป-มาสั้น ๆ ในแต่ละซี่ประมาณ 10-15 ครั้ง จนสะอาดตามแต่ละบริเวณ

2) ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้ในเด็กเล็ก และถ้าฟันชิดกันควรใช้ไหมขัดฟันให้ด้วย เมื่อเด็กเริ่มหัดแปรงฟันเอง ผู้ปกครองควรแปรงซ้ำให้จนกว่าเด็กจะแปรงฟันได้สะอาดเมื่ออายุราว 7-8 ปี

1.การให้นมเด็กและการเลิกนมขวด

1) ให้นมเป็นมื้อ ไม่ควรให้ดูดทุกครั้งที่ร้องและไม่ใส่น้ำหวานน้ำผลไม้ลงในขวด

2) หลังดูดนมทุกครั้ง ควรให้ดื่มน้ำตาม 1-2 ช้อนชาหรือเช็ดช่องปากให้สะอาด

3) ท่าที่เหมาะสมในการให้นมเด็ก คือ ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอนไม่ควรให้เด็กนอนดูดขวดนม

4) เด็กอายุประมาณ 6 เดือน ควรเริ่มฝึกให้เลิกนมมื้อดึกและเริ่มฝึกดื่มนมจากแก้ว

*** ควรเลิกดูดนมจากขวด เมื่ออายุ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง ***