การติดเครื่องมือจัดฟันมีแบบใดบ้าง
- การจัดฟันแบบติดแน่น (เป็นสีเหล็กโลหะและสีใส่)
- จัดฟันแบบใส (Clear).
จัดฟันช่วยอะไรได้บ้าง
การจัดฟันแก้ปัญหาได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความผิดปกติ ได้แก่ การบดเคี้ยวอาหารดีขึ้น เพิ่มความสวยงามของใบหน้าและรอยยิ้ม ช่วยในการออกเสียง และช่วยเตรียมตำแหน่งฟันให้เหมาะสมก่อนใส่ฟันเทียม กรณีที่ใส่ฟันเทียมร่วมด้วย
การจัดฟันเริ่มทำได้เมื่อไร
การจัดฟันสามารถทำได้ในระหว่างช่วงฟันชุดผสม ตั้งแต่ 6-12 ปี ขึ้นไป จนเป็นฟันแท้ขึ้นครบทุกซี่
ลักษณะการสบฟันแท้ที่ผิดปกติ และจำเป็นต้องจัดฟัน
1) ฟันซ้อนเก: ทำความสะอาดได้ยาก จึงมีโอกาสเกิดโรคฟันผุและเหงือกอับเสบได้มากขึ้น
2) ฟันห่าง: ทำให้มีเศษอาหารติดบริเวณช่องว่างระหว่างฟันได้ง่าย จึงมีโอกาสเกิดโรคฟันผุและเหงือกอับเสบได้มากขึ้น
3) ฟันหน้าบนยื่น: ส่งผลให้ฟันหน้าล่างอาจสบกัดบริเวณเหงือกด้านเพดานของฟันหน้าบน ทำให้ฟันหน้าบนโยกหรือมีเหงือกอับเสบ
4) ฟันหน้าล่างคร่อมฟันหน้าบน : เกิดการสบกระแทกบริเวณฟันหน้าบนและล่าง เป็นอันตรายต่ออวัยวะปริทันต์ อาจพบเหงือกกร่นหรือฟันโยกได้
5) ฟันสบเปิดด้านหน้า: ไม่สามารถใช้ฟันหน้าตัดอาหารได้ และออกเสียงไม่ชัดเจน
ลักษณะการสบฟันน้ำนมหรือฟันชุดผสมที่ผิดปกติ และจำเป็นต้องจัดฟัน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางทันตแพทย์จัดฟัน และการรักษาอาจทำได้หลากหลายวิธี เช่น
1. กรอลดขนาดฟันเขี้ยวน้ำนม (stripping) เพื่อให้มีช่องว่างในการแก้ไขฟันซ้อนเก
2. ขยายขากรรไกร (expansion) ในกรณีที่มีขนาดขากรรไกรแคบกว่าปกติร่วมด้วย
3. การกระตุ้นการเจริญเติบโตของขากรรไกร
ข้อควรทราบภายหลังการจัดฟัน
เมื่อจบการจัดฟัน มีความจำเป็นต้องใส่เครื่องมือคงสถาพฟัน หรือ รีเทนเนอร์ (Retainer) จากใส่ตลอดเวลาและจะลดระยะเวลาในการใส่เครื่องมือคงสถาพฟันตามที่ทันตแพทย์แนะนำ
ทั้งนี้ระยะเวลาที่ทำการรักษาในทันตกรรมจัดฟัน ประมาณ 2-3 ปี ทันตแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาทุกๆ 3-4 อาทิตย์ หรือ 1 เดือน โดยประมาณ